ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การประชาสัมพันธ์เว็บไซด์

ระบบค้นหาข้อมูล

ในการเพิ่มโอกาส และเปิดทางให้ธุรกิจ ด้วยการเข้าถึงหลักการทำงานของระบบค้นหาข้อมูล ระบบค้นหาข้อมูล เป็นการประชาสัมพันธ์เว็บไซด์อีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะนอกจาก จะเป้นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีไม่น้อยกว่าสื่อประชาสัมพันธ์อื่นๆ แล้วยังมีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เพียงแค่ลงทะเบียนเว็บไซด์ในระบบค้นหาข้อมูล หลังจากนั้นเมื่อผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซด์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล ถ้าสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการค้นหาตรงกับสิ่งที่มีอยู่ในเว็บไซด์ เว็บไซด์ก็จะปรากฎขึ้นเป็นผลของการคนหา แต่จะตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับคีย์เวิร์ดที่เลือกใช้กับเว็บไซด์



การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซด์ในรูปแบบ Google Adwords

การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซด์ในรูปแบบ Google Adwords ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่า เป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก เนื่องจากการการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซด์ในรูปแบบดังกล่าว สามารถเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซด์ให้กับเว็บไซด์ได้ในทันทีตั้งแต่เริ่มทำการจัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ วิธีการการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซด์ดังกล่าวเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างมากสำหรับเว็บไซด์ที่ไม่สามารถอยู่ในอันดับต้นๆ ของการค้นหาของ Search Engine ต่างๆ ได้และเว็บไซด์ที่เพิ่งได้รับการจัดสร้างเสร็จสิ้น



บริการ SEO เพื่อพัฒนาอันดับผลการค้นหาเว็บไซด์ใน Search Engine

Search Engine Optimization (SEO) คือ กระบวนการที่ทำให้เว็บไซด์ถูกค้นพบได้งายขึ้นในอินเตอร์เน็ต ลิงค์จากเว็บไซด์อื่นที่ลิงค์มายังเว็บไซด์ ในทางเทคนิคแล้ว เราจะเรียกลิงค์ในลักษณะดังกล่าวว่า “back link” ซึ่งการจัดทำ back link ให้กับเว็บไซด์นั้นมีวิธีการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การแลกเปลี่ยนลิงค์กับ เว็บไซด์ต่าง หรือการลงทะเทียนเว็บไซด์ในไดเรกทอรี หรือ Search Engine ต่างๆ อาทิ DMOZ, Yahoo, Directory และ Google directory เป็นต้น ซึ่งการเพิ่ม back link ในเว็บไซด์ และไดเรกทอรีชั้นนำของโลกจะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาอันดับ ผลการค้นหาเว็บไซด์ใน Search Engine ได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การโฆษณาและประชาสัมพันธ์เว็บไซด์

มีทั้งแบบฟรีและแบบที่ต้องเสียเงิน
- การโฆษณาโดยใช้แบนเนอร์
- การแลกเปลี่ยนลิงค์ หรือแบนเนอร์ กับเว็บไซต์อื่นๆ ป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งอีกทั้งยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น การแลกเปลี่ยนลิงค์
- การจดทะเบียนกับไดเรคทอรี่ (Directory) และ (Search Engine) เป็นบริการ Search Engine Optimization (SEO) เพื่อพัฒนาอันดับผลการค้นหาเว็บไซต์ในเสิร์ชเอ็นจิ้น เช่น กับ Google, Yahoo, MSN ฯลฯ
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ Google Adwords เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้ผล แต่ต้องเสียตังค์ ซึ่งเหมาะสมกับเว็บไซด์ที่เปิดใหม่ และต้องการให้ผู้คนรู้จักได้เร็วขึ้น

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Paypal : แหล่งเก็บเงิน และรับ-ส่งเงินอิเล็กทรอนิกส์






  • สำหรับ Paypal ถือเป็นแหล่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแหล่งหนึ่งเลยทีเดียว เพราะปัจจุบันสมัครฟรีใช้ฟรี



    Paypal คือ บริการที่ใช้สำหรับรับ-ส่งเงิน อิเล็กทรอนิกส์สำหรับคนที่มีอีเมล์ เมื่อก่อน Paypal เปิดตัวด้วยเพื่อใช้งานกับ ebay แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมถึงการทำอีคอมเมิร์ท ซึ่งทำให้ระบบการชำระเงินมีความสะดวกสบายมากขึ้น



    การลงทะเบียนเพื่อขอใช้ Paypal คลิ๊ก



    1. ให้พิมพ์ https://www.paypal.com/ ที่ช่อง Address แล้วกดปุ่ม Enter จะได้หน้าจอดังนี้



    2. คลิก Sign up จะได้หน้าจอดังนี้






    - Your country or region : ให้เลือกเป็น Thailand



    - Your language : ให้เลือกเป็น U.S. Englist



    - Personal : ให้คลิกปุ่ม Get Started


































































วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สำรวจสถานภาพพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยปี 2550

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำการสำรวจสถานภาพพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทยปี 2550 นี้ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของธุรกิจที่มีการขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งในเรื่องของประเภทธุรกิจที่ทำ จำนวนคนทำงาน มูลค่าขายค่าใช้จ่าย การจัดส่งสินค้า การชำระเงิน รวมทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจด้านนี้ในมุมมองของผู้ประกอบการ ซึ่งภาครัฐต้องเข้าไปสนับสนุน และทิศทางการปรับตัวที่สำคัญ ๆ ของภาคธุรกิจ เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคมปี 2550 โดยวิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ทางอีเมล์ รวมทั้งนำแบบสอบถามขึ้นเว็บไซต์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดไม่น้อยกว่า 30,000 ราย เข้ามาตอบ โดยมีแบบสอบถามที่สมบูรณ์และสามารถนำมาประมวลผลได้ทั้งสิ้น ประมาณ 1,539 แบบ จากจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด ประมาณ 39,500 ราย

ผลจากการสำรวจ สรุปได้ดังนี้ คือ
2.1 ลักษณะทั่วไปของธุรกิจ
ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีคนทำงานไม่เกิน 5 คน ถึงร้อยละ 73.6 และเป็นธุรกิจประเภท B2C ถึงร้อยละ 85.3

โดยแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำ อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ ร้อยละ 18.5 กลุ่มแฟชั่น เครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับ ประมาณร้อยละ 18.0
แยกตามประเภทอุตสาหกรรมของธุรกิจ B2B พบว่า อุตสาหกรรมที่ทำกันมาก 5 อันดับแรกคือ สิ่งทอ/เสื้อผ้า รถยนต์ อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์
ส่วนอุตสาหกรรมที่มีมากในธุรกิจ B2C คือ สิ่งทอ เสื้อผ้า การท่องเที่ยว/จองตั๋ว คอมพิวเตอร์น้ำหอม เครื่องสำอาง และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ธุรกิจส่วนใหญ่ขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาไม่นานนัก คือน้อยกว่า 1 ปี ถึงร้อยละ 40.4 และ 1–2 ปี ร้อยละ 26.7 ส่วนที่ดำเนินธุรกิจประเภทนี้มามากกว่า 8 ปีขึ้นไป มีอยู่เพียงร้อยละ 6.3 เท่านั้น และประมาณครึ่งหนึ่งของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมด (ร้อยละ 50.5) จะขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และขายโดยมีหน้าร้านด้วย ส่วนที่ขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว มีร้อยละ 41.8

2.2 ผลการประกอบการ
ในปี 2549 ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มียอดขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้นประมาณ 305,159 ล้านบาท (ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยการ E-Auction ของภาครัฐ จำนวน 176,683 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 57.9 ของยอดขายทั้งหมด)
ส่วนที่เป็นยอดขายของผู้ประกอบการ B2B มีประมาณ 79,726 ล้านบาท (ร้อยละ 26.1) ส่วนที่เหลือ 47,501 ล้านบาท เป็นยอดขายของผู้ประกอบการ B2C

2.3 วิธีการดำเนินธุรกิจ
ประมาณร้อยละ 64.4 ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด มีการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดผ่านการออนไลน์ ในจำนวนนี้เป็นธุรกิจที่ทำทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ประมาณร้อยละ 31.4 วิธีการประชาสัมพันธ์แบบออนไลน์ที่ใช้กันมากที่สุด คือ การโฆษณาผ่านเว็บบอร์ดตามเว็บไซต์ต่าง ๆ (ร้อยละ58.0) ทางอีเมล์ (ร้อยละ 48.8) และทางเสิร์ชเอ็นจิ้น (ร้อยละ 45.4)

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ขั้นตอนการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ขั้นตอนการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ขั้นตอนการสำรวจความต้องการของตลาด (Market Survey)
2. ขั้นตอนการวางแผนและพัฒนาเว็บไซต์ (Website Survey & Development)
3. ขั้นตอนการนำเว็บไซด์เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต (Online Shop)
4. ขั้นตอนการค้นหาข้อมูล (Searching)
5. ขั้นตอนของการโฆษณาประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เว็บไซด์ (Advertising)
6. ขั้นตอนการติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Maintenance)


1. ขั้นตอนการสำรวจความต้องการของตลาด (Market Survey) สำหรับบางคนการทำเว็บไซด์เป็นการต่อยอดทางธุรกิจเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่สำหรับบางคนที่คิดจะกระโดดเข้ามาเพื่อเป็นนักธุรกิจกับเขาดูบ้าง สิ่งที่ต้องทำก่อนเป็นอันดับแรกเลยคือ ต้องสำรวจตลาดดูก่อนว่า ตลาดที่เราคิดจะเข้าไปทำธุรกิจเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการด้านนั้นๆ มีแนวโน้มการเจริญเติมโตเป็นอย่างไรบ้าง เว็บไซด์ที่เขาเป็นจ้าวตลาด ของสินค้าหรือบริการ เหล่านั้นมีอะไรบ้าง พฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อขาย online เป็นอย่างไร แม้ว่าเมืองไทยจะมีแนวโน้มการเจริญเติบโตด้านอินเทอร์เน็ตอยู่มาก แต่พฤติกรรมของคนไทยก็ยังไม่กล้าเสี่ยงต่อการซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่ดี เพราะด้วยปัจจัยหลายอย่าง ถึงแม้ว่า จากผลสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประจำปี 2547 ที่ผ่านมา โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พบว่าตัวเลขของผู้ที่ซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีสูงมากขึ้นจากเดิม 20.9% เป็น 29.9% ซึ่งเพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อน ก็ตาม ซึ่งการศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ บุคคลธรรมดา และ องค์กรและจะต้องสำรวจถึงผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งประกอบไปด้วย ปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคม ส่วนบุคคล และจิตวิทยา อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การทำตลาดออนไลน์

  • การทำตลาดออนไลน์
    วิธีการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ องค์ประกอบต่างๆ ของการตลาดแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าร้านบนโลกไซเบอร์แห่งนี้จะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างดี เพื่อจะได้จัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ในช่วงเริ่มต้นนั้น การตลาดอาจเป็นเรื่องยากของผู้ประกอบการหน้าใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ แต่การศึกษาหาข้อมูล และการทำความเข้าใจในวิธีการการตลาดจะสามารถนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพิ่มเติมความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย การใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือเชิงพาณิชย์นั้น สามารถช่วยให้ผู้ขายประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งในเรื่องของสินค้า พนักงานขาย และให้บริการได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง โดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 600 ล้านคนทำให้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้ ผู้ขายจะต้องศึกษาเรื่องของสินค้า, ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้การใช้สื่อประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น การมีเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายสินค้าจึงไม่ใช่เครื่องรับประกันความสำเร็จทางธุรกิจ เพราะยังมีองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรสำคัญ คือ “การตลาด” แต่เดิมนั้น หลายท่านอาจจะรู้จักส่วนผสมทางการตลาดเพียง 4 P คือ Product, Price, Place, Promotion แต่ปัจจุบันท่านต้องรู้จักกับอีก 2 P ใหม่คือ Personalization และ Privacy เพื่อให้เกิดแนวคิดประยุกต์ใช้องค์ประกอบการตลาดดั้งเดิม บวกกับความสามารถพิเศษของเทคโนโลยี ทำให้เกิดองค์ประกอบการตลาดแบบใหม่ได้
  • องค์ประกอบที่หนึ่ง ผลิตภัณฑ์ (Product) แม้เว็บไซต์จะมีความสวยงาม แต่หากผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ความสวยงามหรือตื่นตาตื่นใจเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะสร้างรายได้ให้กับธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงควรที่จะมีการวิเคราะห์สินค้าว่ารูปแบบควรเป็นลักษณะใด การใช้ประโยชน์ของสินค้า และกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ซื้อ โดยเฉพาะการผลิตสินค้าที่ไม่มีขายทั่วไปในช่องทางปกติ เช่นผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรจากเกษตร เช่น ปลาร้าก้อน, ปลาร้าผง, สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้สินค้านั้นเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อออนไลน์ ปัญหาสำคัญของการซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตคือ ลูกค้าไม่สามารถทดลองสินค้าได้ก่อน แม้ว่าสินค้านั้นจะดีจริง ลูกค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าจากร้านที่เขาเคยได้ยินชื่อมาก่อน หรือมิฉะนั้น สินค้าจะต้องมีตรายี่ห้อ เพื่อจะได้มั่นใจในคุณภาพสินค้า และการสร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า ว่าจะไม่ทุจริต เพราะจำนวนเงินธุรกรรมที่ผู้บริโภคซื้อผ่านเว็บไซต์ บางครั้งก็ไม่คุ้มที่จะฟ้องร้องหากผู้ขายทุจริต นอกจากนั้น ผู้ขายจะต้องคำนึงถึงการจัดส่งสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีด้วย
  • องค์ประกอบที่สอง ราคา (Price) สินค้าไทยอาจมีราคาถูกเมื่อคำนวณในสกุลเงินต่างประเทศ แต่การขายสินค้าไปต่างประเทศในลักษณะผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค (B2C) นั้น ผู้ซื้อต้องชำระค่าขนส่ง และภาษีนำเข้าด้วย ซึ่งขณะนี้ค่าขนส่งสินค้า 1 กิโลกรัมไปอเมริกา โดยบริษัทขนส่งมีต้นทุนประมาณ 1,000 บาท ดังนั้น สินค้าเหล่านี้อาจจะมีราคาแพงกว่าที่ซื้อจากร้านในอเมริกาได้ ในระยะยาวแล้วต้นทุนการผลิตของไทยอาจสูงกว่าอินเดีย หรือจีน เพราะค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นของไทย ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกด้วยการขายของถูกได้อีกต่อไป ดังนั้น ผู้ขายจึงควรเน้นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า หมั่นตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงราคาของคู่แข่งใกล้เคียง นอกจากนี้ ในการขายสินค้าบางชนิดเช่นเครื่องประดับที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา อาจทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูง เพราะมีการคำนวณน้ำหนักขั้นต่ำในการส่ง ผู้ขายจึงควรนำเสนอสินค้าเครื่องประดับเป็นชุด แทนที่จะแยกขายเป็นชิ้น ซึ่งเมื่อรวมราคาเป็นชุดแล้วจะทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าราคาไม่สูงนัก ในกรณีที่ผู้ขายทราบตลาดหลักของตนว่าเป็นกลุ่มลูกค้าจากประเทศอะไรแล้ว อาจทำการคำนวณค่าจัดส่งรวมเข้าไปในราคาสินค้าเลย เพื่อจะช่วยร่นกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้สั้นขึ้น สำหรับการตั้งราคาเพื่อจำหน่ายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ขายจะต้องมีการคำนวณต้นทุนให้รอบคอบ หรือความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การที่ลูกค้าทำรายการซื้อด้วยบัตรเครดิตนั้น ธนาคารจะมีการคิดค่าธรรมเนียม 3% ซึ่งผู้ขายจะต้องนำค่าใช้จ่ายนี้ไปรวมเป็นต้นทุนก่อนตั้งราคาสินค้าด้วย
  • องค์ประกอบที่สาม ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) คำกล่าวที่ว่า ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ดูจะเป็นคำพูดที่มีน้ำหนักอยู่เสมอในโลกธุรกิจ เพราะทำเลการค้าที่ดีหลายแห่งจะมีค่าจอง ค่าเซ้งในราคาที่สูงลิบลิ่ว เนื่องจากเป็นที่ต้องการของคู่แข่งหลายราย และทำเลการค้าที่ดีก็มีอยู่จำกัด ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กหลายรายจึงต้องเริ่มธุรกิจด้วยการใช้รถเข็น หรือเปิดแผงลอยย่อยๆ ก่อน ถ้าจะเทียบกับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลอาจจะเทียบเคียงได้กับการตั้งชื่อร้านค้า ที่ศัพท์ทางอินเทอร์เน็ตเรียกว่า โดเมนเนม (Domain Name) ในทางอินเทอร์เน็ตนั้นไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ ดังนั้นทำเลการค้าทางอินเทอร์เน็ตจึงไม่ได้หมายถึงที่ตั้งของร้าน ร้านค้าอาจใส่ข้อมูลสินค้าบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย อเมริกา หรือ อินเดีย ได้ โดยลูกค้าไม่ได้สนใจมากนัก และส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของร้านค้าอยู่ที่ประเทศใด แต่ลูกค้าเข้าสู่ร้านค้าโดยจดจำชื่อร้าน เช่น Amazon.com หรือ Hotmail.com ชื่อร้านค้าเหล่านี้เปรียบเสมือนยี่ห้อสินค้า และชื่อเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดบนโลกอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับทำเลทองย่านการค้า การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ชื่อที่ดี มักจะถูกจดไปหมดแล้ว ในปัจจุบันจึงเกิดธุรกิจซื้อขายเฉพาะชื่อโดเมนเนมเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยไม่ควรยึดเว็บไซต์เป็นช่องทางการค้าเพียงอย่างเดียว หากมีโอกาสเปิดช่องทางการค้าตามวิธีปกติได้ก็ควรจะทำควบคู่กันไปด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ การมีเว็บไซต์นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าก่อนซื้อ หรือมีการซื้อซ้ำได้ หลังจากที่ลูกค้าได้ซื้อสินค้าจากช่องทางปกติไปทดลองใช้จนพอใจแล้ว
  • องค์ประกอบที่สี่ การส่งเสริมการขาย (Promotion) การส่งเสริมการขายบนเว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับการค้าปกติ โดยรูปแบบมีตั้งแต่การจัดชิงรางวัล การให้ส่วนลดพิเศษในเทศกาลต่างๆ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเข้ามาเลือกสินค้าที่เว็บไซต์ นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อปกติ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์แล้ว ยังมีการโฆษณาด้วยรูปแบบที่เรียกว่าป้ายโฆษณาบนเว็บไซต์ (Banner Advertising) ซึ่งมีลักษณะคล้ายสื่อสิ่งพิมพ์ แต่จะแสดงบนเว็บไซต์อื่น การโฆษณาลักษณะนี้จะคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนครั้งที่แสดงโฆษณาโดยนับเป็นจำนวนหลักพันครั้ง หรือ CPM ซึ่งมาจากคำว่า Cost Per Thousand Impressions วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งคือ การลงทะเบียนในเว็บไซต์เครื่องมือค้นหา เช่น Yahoo.com, Google.com หรือ การประมูลขายสินค้าในเว็บไซต์ eBay.com นอกจากการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีต่างๆ ให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์แล้ว บริการหลังการขายก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าครั้งหนึ่งนั้น ไม่ได้หมายถึงการที่ผู้ขายจะได้รับเพียงคำสั่งซื้อเดียว หากมีบริการที่ดี เช่น การส่งของแถม หรือคูปองส่วนลดไปพร้อมกับสินค้า จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และอาจกลับมาซื้อซ้ำ หรืออาจบอกต่อเพื่อนฝูงให้มาใช้บริการร้านออนไลน์ของผู้ขายต่อไปได้
  • องค์ประกอบที่ห้า การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization) เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้เคยซื้อหนังสือจากเว็บไซต์ Amazon.com เมื่อเข้ามาที่เว็บไซต์นี้อีกครั้งหนึ่งจะมีข้อความต้อนรับ โดยแสดงชื่อผู้ใช้ขึ้นมา พร้อมรายการหนังสือที่เว็บไซต์แนะนำ ซึ่งเมื่อดูรายละเอียดจะพบว่าเป็นหนังสือในแนวเดียวกับที่เคยซื้อครั้งที่แล้ว เมื่อผู้ใช้สั่งซื้อหนังสือใด เว็บไซต์ก็จะทำการแนะนำต่อไปว่าผู้ที่สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ มักจะสั่งซื้อสินค้าต่อไปนี้ด้วย พร้อมแสดงรายการหนังสือหรือสินค้าแนะนำ เป็นการสร้างโอกาสการขายตลอด เครื่องคอมพิวเตอร์ของร้านค้าสามารถเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าทุกรายและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท Data Mining ทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในการซื้อสินค้า รวมทั้งการเสนอขายสินค้าแบบ Cross Sell ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถพัฒนาไปใช้กับการให้บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ด้วยระบบ Call Center ได้ด้วย
  • องค์ประกอบที่หก การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) การซื้อขายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ซื้อต้องมีการกรอกข้อมูลส่วนตัวของตนส่งไปให้ผู้ขาย ดังนั้น ผู้ขายจะต้องรักษาความลับของข้อมูลเหล่านี้ โดยต้องไม่เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าก่อนได้รับอนุญาต ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงในเรื่องของข้อมูลอันเป็นความลับ เช่น หมายเลขบัตรเครดิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ เช่นที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ดูแลเว็บไซต์จำเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกโจรกรรมออกไปได้ โดยผู้ขายจะต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า หรือ Privacy Policy ให้ชัดเจนบนเว็บไซต์ และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่งครัด เช่นไม่ส่งโฆษณาไปหาลูกค้าทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาติ,ไม่นำข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าไปขายต่อให้บริษัทการตลาด เป็นต้น ทั้งนี้ ส่วนผสมทางการตลาดทั้ง 6 องค์ประกอบนี้ ผู้ขายหรือผู้ผลิต ควรมีการวางแผน และสร้างกิจกรรมที่สัมพันธ์กัน ตั้งแต่การเลือกสินค้าที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดกลุ่มเป้าหมาย ในระดับราคาเหมาะสม และมีชื่อโดเมนเนมที่ผู้ซื้อจดจำได้ง่าย สะกดผิดยาก มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเว็บไซต์ให้ลูกค้ารู้จัก และมีบริการหลังการขายที่ดีให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง และต้องรักษาความลับลูกค้าได้ เพียงเท่านี้ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม...
ข้อมูลจาก นิตยสาร e-commerce
ที่มา : http://www.yes-hosting.com/

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนลงมือสร้างเวบ e-commerce

1. รูปภาพ : รูปภาพของสินค้าที่จะแสดงบนเวบไซด์นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเนื่องจากบนเวบไซด์เปรียบเสมือนหน้าร้านค้า ที่เราต้องนำสินค้าขึ้นโชว์ เพื่อให้ลูกค้ามีความรู้สึกถึงความพึงพอใจต่อสินค้า และทำการเลือกซื้อสินค้านั้น ดังนั้นรูปภาพจึงไม่ควรมีขนาดเล็กจนเกินไป หรือใหญ่จนกินเนื้อที่ ซึ่งทั่วไปนามสกุลของรูปภาพที่จะนำขึ้นแสดงบนเวบเพจนั้น จะมีด้วยกันหลายนามสกุล แต่ที่นิยม คือ .gif และ .jpeg หรือ .jpg ซึ่งจะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บไม่มาก เช่น ภาพ .jpg



2. เนื้อหา : เนื้อหาของสินค้าที่จะนำมาใส่บนเวบไซด์ควรเป็นเนื้อหาที่สั้น กระทัดรัด และสื่อความหมายได้ดี เพื่อสื่อถึงสินค้าตัวนั้นๆ ได้ดี

3. ซอฟท์แวร์ : ปัจจุบันเอง มีซอฟท์แวร์ที่เป็น ฟรีแวร์ด้าน e-commerce หลายตัว ทำให้มีทางเลือกในการพิจารณาซอฟท์แวร์มากขึ้น หลักเกณฑ์ในการเลือกซอฟท์แวร์ (คลิกที่นี่)

4. Domain name : เคยมีคนถามกันค่อนข้างเยอะทีเดียวว่า Domain name คืออะไร คำว่า Domain Name หรือ DNS ย่อมาจาก Domain Name System คือ คือระบบการตั้งชื่อบนอินเทอร์เน็ต หรือพูดง่ายๆก็คือ ชื่อที่ใช้อ้างอิงถึงเวบไซด์ของเรานั่นเอง เช่น sanook.com, google.com, google.co.th, pch38.thport.com

  • Domain ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
    .com = กลุ่มธุรกิจการค้า (Commercial)
    .edu = กลุ่มการศึกษา (Education)
    .gov = กลุ่มองค์กรรัฐบาล (Government)
    .mit = กลุ่มองค์กรทหาร (Military)
    .net = กลุ่มบริหารเครือข่าย (Network Services)
    .org = กลุ่มอื่น ๆ (Organizations)
    .firm = กลุ่มธุรกิจการค้า บริษัท ห้างร้าน (Firms)
    .store = กลุ่มธุรกิจทำการซื้อขายสินค้า (Store)
    .web กลุ่มงานเกี่ยวกับ www (World Wide Web)
    .arts = ข้อมูลเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม (Art)
    .rec = เกี่ยวกับการพักผ่อน กิจกรรม (Recreation)
    .info = กลุ่มผู้ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร (Information)
    .nom = เกี่ยวกับโดเมนส่วนตัว (Nomenclature)

  • ความหมายของ Sub Domain
    .co = องค์การธุรกิจ (Commercial)
    .ac = สถาบันการศึกษา (Academic)
    .go = หน่วยงานรัฐบาล (Government)
    .or = องค์กรอื่น ๆ (Organizations)


5. Hosting : เมื่อเรามีการพัฒนาเวบไซด์ได้ถึงระดับที่จะสามารถเผยแพร่ได้แล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมอีกอย่างหนึ่งก็คือ Hosting ซึ่งปัจจุบันมีทั้ง free host และ Host ที่เสียตังค์

วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประโยชน์ : พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สรุปจากที่ผ่านมานั้นจะพบว่าจะมีข้อที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตอยู่ 3 ประเด็นคือ
> ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆ
>ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก (หมายความว่าต้องสร้างเว็บไซต์ให้มีข้อมูลเป็นภาษาสากลหรือภาษาที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราใช้มากๆ เช่นภาษาจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น)
> ไม่มีข้อจำกัด้านเวลา สามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ผ่านระบบอัตโนมัติ

ประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคา คุณภาพสินค้าและข้อมูลอื่นๆเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างในการหาข้อมูลได้ง่าย มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น เพียงแค่พิมพ์คีย์เวิร์ดลงในเครื่องมือค้นหาก็มีสินค้าออกมาให้เลือกมากมาย ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ซื้อสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เพราะสามารถได้รับสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย สินค้าบางอย่างสามารถลดพ่อค้าคนกลางได้ ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง คงไม่ใช่กับทุกสินค้าหรือทุกผู้ผลิตที่มีความต้องการมาทำการขายเอง อาจจะได้กับสินค้าบางชนิด ลดความผิดพลาดในการสื่อสาร จากเดิมที่ในการค้าต้องส่งแฟกซ์ หรือบางทีบอกจดทางโทรศัพท์ รับใบคำสั่งซื้อแล้วมาคีย์เข้าระบบ ถ้าสามารถทำการติดต่อกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลกันได้เลยจะช่วยลดความผิดพลาดในส่วนนี้ไปได้ ลดเวลาในการผลิต นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวณเรื่องความต้องการวัตถุดิบ การทำคำสั่งซื้อวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสำนักงานส่วนหลัง เปิดตลาดใหม่ หาคู่ค้า ซัพพลายเออร์รายใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง เพิ่มความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดีขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเว็บไซต์ของบริษัท โดยการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า การให้บริการหลังการขายให้คำปรึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ หรือการแก้ไขเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)

ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีมาก ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายและภาพลักษณ์บริษัทให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เข้ามาใช้ในกิจการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วทุกมุมโลกและสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว ทุกเวลาส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในการนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายของกิจการ คือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เป็นการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพาณิชย์ โดยการขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ (Website)ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จะก่อให้เกิด การลดต้นทุน ลดเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพิ่มช่องทางการตลาดและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ก็มีหลายๆรูปแบบ ทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

> ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
> ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
> ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
> ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ www.customs.go.th
> ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย
จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ
1. การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์
2. การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ
3. การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น

Powered By Blogger